ปี 66 “เอสอาร์ทีเอ” เดินเครื่องปั้น 2 บิ๊กโปรเจคท์ เข้าบริหารทรัพย์สินการรถไฟฯ

น.ส.ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) เปิดเผยถึงแผนการรับมอบบริหารทรัพย์สินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และแนวทางในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟว่า ต้นปี 66 หลังจากการเซ็นสัญญารับมอบจาก รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ทางบริษัทฯ ก็จะเริ่มต้นวางแนวทางการพัฒนาที่ดินของ รฟท. เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์เร็วที่สุด โดยจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่มากกว่า 2,000 ไร่ ใช้พัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ (TOD) อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย โดยร่วมมือกับ UR (Urban Renaissance Agency) หน่วยงานที่พัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยของประเทศญี่ปุ่น เข้ามาช่วยศึกษาหาแนวทาง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้

น.ส.ไตรทิพย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะพัฒนาสถานีธนบุรี โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ขณะเดียวกันพื้นที่บริเวณดังกล่าวก็มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นจุดศูนย์รวมการคมนาคมทางเรือ รถไฟ และระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ มีศักยภาพที่จะเป็นทั้งพื้นที่ศูนย์กลางทางการแพทย์ และแหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหารือกับทางโรงพยาบาลศิริราช ในความร่วมมือดังกล่าวแล้ว เหลือเพียงการเจรจาถึงแนวทางใช้ประโยชน์จากที่ดินกับ รฟท. ให้มีความชัดเจนอีกครั้ง คาดว่าทั้ง 2 โครงการจะเริ่มดำเนินการได้ไม่เกินปลายปี 66 เพื่อให้เกิดภาพการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม

น.ส.ไตรทิพย์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของกระบวนการการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางฯ เมื่อมีผลสรุปจากโครงการศึกษาที่ UR ได้สำรวจ และวางแผนพัฒนาพื้นที่เสร็จสิ้นแล้ว จะเสนอผลการศึกษาไปยัง รฟท. เพื่อขออนุมัติการเช่าพื้นที่จาก รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เพื่อนำมาเปิดประมูลต่อ โดยพื้นที่แรกของสถานีกลางฯ ที่มองไว้ คือ พื้นที่โซนเอ และพื้นที่โซนอีบางส่วน ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่จะอยู่บริเวณด้านหลังสถานีกลางฯ โดยมีแผนพัฒนาในรูปแบบมิกซ์ยูส หรือการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน เน้นอาคารสำนักงานผสาน กับพื้นที่เชิงพาณิชย์เป็นหลัก

นอกจากนี้ อาจนำแนวคิดการออกแบบพื้นที่รอบสถานีรถไฟของประเทศญี่ปุ่นที่น่าสนใจ มาใช้ในพื้นที่สถานีกลางฯ ด้วย เช่น การสร้างพื้นที่สีเขียว การออกแบบเส้นทางใต้ดินเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟที่สามารถเดินใต้ดิน เพื่อไปเข้าตึกต่างๆ ที่อยู่รอบๆ สถานีรถไฟได้ และระหว่างทางเดินก็มีร้านค้าที่สามารถเข้าใช้บริการได้ตลอดทาง แต่ทั้งนี้ ต้องดูด้วยว่าในเชิงวิศวกรรมการออกแบบ พื้นที่บริเวณสถานีกลางฯ สามารถทำได้หรือไม่ แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือ พุ่งเป้าไปสู่การสร้างสมาร์ทซิตี้ในพื้นที่แห่งนี้แน่นอน

น.ส.ไตรทิพย์ กล่าวด้วยว่า ส่วนสถานีธนบุรี เป็นพื้นที่ขนาด 21 ไร่ อยู่ห่างจากโรงพยาบาลศิริราชประมาณ 500 เมตร เป็นพื้นที่อีกแห่งที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนา เพราะติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญทางฝั่งธนบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และศูนย์กลางด้านการแพทย์ได้ ขณะเดียวกันต้องตอบโจทย์ความต้องการในแนวทางการพัฒนาของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้น สร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นแนวทางในการพัฒนา อาจเสริมเรื่องการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งการสร้างที่พักให้กับพนักงาน รฟท.

น.ส.ไตรทิพย์ กล่าวอีกว่า ในแง่การลงทุน ไม่ได้จำกัดว่า ผู้ร่วมลงทุนต้องเป็นนักลงทุนในประเทศ หรือนักลงทุนจากต่างประเทศ หากใครเห็นศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ก็พร้อมเปิดรับ และเปิดเผยขั้นตอนทุกอย่างด้วยความโปร่งใส อย่างไรก็ตามในปี 66 จะเป็นปีที่ SRTA เร่งเดินหน้าศึกษา และพัฒนาพื้นที่ของ รฟท. อย่างเต็มตัว ตั้งแต่ขั้นตอนการรับมอบสัญญาจาก รฟท. จนถึงการประมูลหาผู้ลงทุน และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 66-68 ซึ่งจะได้เห็นโครงการต่างๆ เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ไม่ใช่แค่ 2 พื้นที่ในโครงการหลักเท่านั้นที่จะเริ่มพัฒนา ยังมีพื้นที่ขนาดเล็กอีกหลายแห่งของ รฟท. เช่น พื้นที่รัชดา, เพชรบุรีตัดใหม่, RCA และโครงการสถานีแม่น้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาหาแนวทางพัฒนา เพื่อให้ที่ดินสามารถสร้างรายได้ให้ รฟท. และเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนที่จะมีคุณภาพชีวิตในเมืองที่ดีขึ้น.